ค่าไฟแพงดันต้นทุนผลิตพุ่ง 4-6% จับตา 13 สินค้าอ่วมจ่อขึ้นราคา

07 ธันวาคม 2566
ค่าไฟแพงดันต้นทุนผลิตพุ่ง 4-6% จับตา 13 สินค้าอ่วมจ่อขึ้นราคา

เอกชนชี้ค่าไฟแพง กระทบต้นทุนคงที่ 4-6% จับตา 13 สินค้าอ่วม ปรับขึ้นราคา วอนรัฐทบทวนด่วน พร้อมแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง ตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน “กรอ. ด้านพลังงาน”

วันที่ 2 ธันวาคม 2566 นายวิศิษฐ์ ลิ้มสือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทย นายกสมาคมการค้าอาหารอนาคตไทย และนายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ตามที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) มีมติเห็นชอบให้ปรับค่า Ft ขายปลีก งวดเดือนมกราคม-เมษายน 2567 เท่ากับ 89.55 สตางค์ต่อหน่วย ส่งผลให้อัตราค่าไฟฟ้าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 69.07 สตางค์ต่อหน่วย รวมกับค่าไฟฟ้าฐานที่ 3.78 บาทต่อหน่วย ทำให้ค่าไฟฟ้าทุกประเภทเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.68 บาทต่อหน่วย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) จากปัจจุบัน

และล่าสุดนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ระบุว่า ต้องคุยรายละเอียดทั้งหมดในฐานะประธาน กพช. ส่วนจะมีมาตรการต่อเนื่องหรือไม่ ก็ต้องไปดูก่อนเพราะเป็นเรื่องของงบประมาณด้วย อย่างไรก็ตาม คาดการณ์ว่าแนวโน้มค่าไฟจะปรับขึ้นจาก 3.99 บาท แต่ไม่ถึง 4.68 บาท แน่นอน

ซึ่งทางเอกชนมองว่า ค่าไฟฟ้าที่ปรับเพิ่มขึ้น จะส่งผลให้ภาคธุรกิจในด้านต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ค่าไฟถือเป็นต้นทุน (fix cost) การดำเนินธุรกิจก็จะเพิ่มขึ้นอีกระดับ 4-6% โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมที่ใช้ไฟฟ้าสูง อาทิ เคมี เหล็ก เยื้อและกระดาษ อะลูมิเนียม หล่อโลหะ แก้ว กระจก ปูนซีเมนต์ เซรามิก อาหารและเครื่องดื่ม โรงกลั่นน้ำมัน และปิโตรเลียมและปิโตรเคมี ทางเอกชนจึงเสนอให้มีการทบทวนมาตรการและนโยบาย เพื่อให้ค่าไฟงวดเดือน ม.ค.-เม.ย. 2567 เหมาะสมที่สุด

ข้อเสนอเอกชน ขอให้ราคาพลังงาน ค่าไฟ มีผลต่อเศรษฐกิจ ทั้งด้านต้นทุนภาคการผลิต จนอาจนำไปสู่การปรับราคาสินค้า ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเงินเฟ้อและเป็นการผลักภาระให้กับภาคประชาชนในท้ายที่สุด

เอกชนหวังแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง ให้เร่งจัดตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กรอ.) ด้านพลังงานเพื่อพิจารณาแนวทางการปรับโครงสร้างราคาพลังงาน โดยเฉพาะค่าไฟฟ้าทั้งระบบ โดยเชื่อว่าหากเร่งจัดตั้งจะมีข้อสรุปถึงโครงสร้างราคาค่าไฟทั้งระยะสั้น กลาง ยาว ออกมา เกิดความชัดเจนและสร้างความเชื่อมั่นต่อทุกภาคส่วน

ค่าไฟฟ้าเป็นค่าใช้จ่ายคงที่ (fix cost) ที่ไม่สามารถปรับลดการใช้ได้มาก จึงส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรม ทำให้ผู้ประกอบการต้องมีมาตรการในการปรับตัว ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบ เช่น การใช้พลังงานหมุนเวียน การติดตั้ง Solar Roof ซึ่งบางรายได้มีการติดตั้ง Solar Roof ในโรงงานเพื่อรองรับผลกระทบด้านค่าไฟไว้แล้ว แต่ได้เพิ่มเฟส Solar Roof ให้มากขึ้น โดยแนวโน้มการใช้พลังงานหมุนเวียนมีแนวโน้มมากขึ้น และนอกจากนั้น ผู้ประกอบการยังมีมาตรการประหยัดไฟ โดยการใช้เท่าที่จำเป็น ปิดในส่วนที่ไม่จำเป็นต้องใช้

นายวิศิษฐ์มองว่า การปรับราคาสินค้าอาจได้รับผลกระทบ เนื่องจากลูกค้ามองว่าราคาสินค้าของไทยสูงกว่าประเทศคู่แข่ง จึงหันไปสั่งซื้อจากประเทศอื่นแทน เช่น จีน เป็นต้น


แหล่งที่มา : ประชาชาติธุรกิจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

The information in the above report, publication and website has been obtained from sources believed to be reliable. However, Iron & Steel Institute of Thailand does not guarantee the accuracy, adequacy or completeness of the information. Any opinions or forecasts regarding future events may differ from actual events or results. In addition, Iron & Steel Institute of Thailand reserves the right to make changes and corrections to the information, including any opinions or forecasts, at any time without notice.